About the Project

โครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)  THE COMMUTER TRAIN SYSTEM (RED LINE)

รถไฟชานเมืองสายสีแดงศูนย์กลางการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล                                                                                                                                                          ความเป็นมา

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ซึ่งเป็นโครงการ สำคัญเร่งด่วน ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล  โดยได้รับอนุมัติโครงการ จากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ประโยชน์ของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนจำนวน 8 จุด และลดการเกิด อุบัติเหตุได้อย่างสิ้นเชิง สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถไฟทางไกลสายเหนือและสายอีสาน โดยรองรับการเดินรถที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเดินรถระบบรถไฟชานเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของประเทศได้อย่างมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งดำเนินการโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 2 เส้นทาง ดังนี้

  1. สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ – รังสิต)  ระยะทาง 26 กิโลเมตร จำนวน 10  สถานี
  2. สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ – ตลิ่งชัน) ระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 3  สถานี

 

 

 

 

รูปแบบรถไฟที่จะใช้ให้บริการในโครงการ

รถไฟ : HITACHI

ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ : 160 กม./ชม.

ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ : 120 กม./ชม.

ขนาดราง : 1,000 มม

ขบวนรถไฟ : 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสาร ได้สูงสุด 1,710 คน/เที่ยว  

ขบวนรถไฟ : 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,120 คน/เที่ยว

แหล่งจ่ายไฟ : ระบบสายส่งไฟเหนือศีรษะแรงดันไฟฟ้า 25 kV