ประวัติความเป็นมา
รอยทางจาก “กรมรถไฟ” สู่... “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษที่กิจการรถไฟในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยทรงมีพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลว่าการคมนาคมขนส่งภายในราชอาณาจักรโดยเส้นทางรถไฟนั้น นอกจาก จะเป็นประโยชน์ต่อราษฎรและเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการบำรุงรักษาราชอาณาเขต เพื่อให้สะดวกแก่การปกครองและตรวจตรา การบริหารราชการแผ่นดินในมณฑลที่อยู่ห่างไกล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับการขยายอาณานิคมของต่างชาติมายังภูมิภาคนี้
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธา ธิการ กระทั่ง ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา เส้นทางรถไฟสายแรกของสยามประเทศ การ รถไฟแห่งประเทศไทยจึงถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่แรกสถาปนากิจการรถไฟในปี 2439 จน สิ้นรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2453 มีทางรถไฟเปิดใช้แล้วทั้งสิ้น 932 กิโลเมตร และได้มีดำเนินการก่อสร้างขยายเส้นทางไปยังสายเหนือและใต้ในเวลาต่อม
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมรถไฟ”เป็น “กรมรถไฟหลวง” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงเป็นพระองค์แรกในรัชสมัยของพระองค์มีเส้นทางรถไฟที่เปิดใช้ทั้งหมด 2,518 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เส้นทางรถไฟได้รับความเสียหายอย่างหนัก และการขยายรางสร้างเส้นทางเพิ่มก็เป็นไปอย่างล่าช้า โดยมีเส้นทางรถไฟที่สร้างเพิ่มขึ้นรวมกันในสมัยรัชกาลที่ 7 และ รัชกาลที่ 8 เพียง 677 กิโลเมตร
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมรถไฟ”เป็น “กรมรถไฟหลวง” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงเป็นพระองค์แรก ในรัชสมัยของพระองค์มีเส้นทางรถไฟที่เปิดใช้ทั้งหมด 2,518 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เส้นทางรถไฟได้รับความเสียหายอย่างหนัก และการขยายรางสร้างเส้นทางเพิ่มก็เป็นไปอย่างล่าช้า โดยมีเส้นทางรถไฟที่สร้างเพิ่มขึ้นรวมกันในสมัยรัชกาลที่ 7 และ รัชกาลที่ 8 เพียง 677 กิโลเมตร