เงื่อนไขการใช้บัตรโดยสาร
เงื่อนไขเหรียญโดยสาร
- ผู้โดยสารสามารถออกเหรียญโดยสารจากเครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ หรือที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร โดยชำระเป็นเงินสดตามเวลาที่กำหนด
- เหรียญโดยสารใช้สำหรับการเดินทางเที่ยวเดียว มีอัตราค่าโดยสารตามจำนวนสถานีที่ผู้โดยสารเลือก
- เหรียญโดยสารสามารถใช้เดินทาง ภายในเวลาเปิดให้บริการในวันที่ออกเหรียญโดยสาร และจะต้องเข้าใช้บริการที่สถานีที่ออกเหรียญโดยสารเท่านั้น หากไม่ใช้เดินทางภายในเวลาดังกล่าว จะถือว่าเหรียญโดยสารนั้นหมดอายุ แต่สามารถแลกคืนเงินได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร
- เหรียญโดยสารสามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ ตามมูลค่าที่บันทึกไว้ในเหรียญโดยสาร ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ถูกต้องที่สุด โดยจะสามารถแลกคืนได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
- กรณีที่ผู้ถือเหรียญโดยสารอยู่ในพื้นที่สาธารณะ หรือในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน
- กรณีที่ผู้โดยสารออกเหรียญโดยสาร แล้วไม่ได้ใช้เดินทางในวันเวลาดังกล่าว สามารถนำมาแลกคืนได้ในเวลาทำการ
5. การแลกคืนจะต้องกระทำภายในเวลาทำการของห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ตามที่ได้กำหนด โดยจะต้องส่งมอบเหรียญโดยสารคืนให้พนักงานที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ทั้งนี้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนด
6. กรณีที่มูลค่าของเหรียญโดยสารต่ำกว่าอัตราค่าโดยสารที่เดินทาง ผู้โดยสารที่ถือเหรียญโดยสารนั้นจะต้องชำระค่าโดยสารส่วนต่าง ระหว่างมูลค่าในเหรียญโดยสารกับอัตราค่าโดยสารก่อนออกจากระบบ
7. ผู้โดยสารที่ทำเหรียญโดยสารชำรุดทางกายภาพหรือสูญหายระหว่างเดินทางอยู่ในระบบ การรถไฟฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว
เหรียญโดยสารเป็นสมบัติของการรถไฟฯ ไม่อนุญาตให้นำออกนอกพื้นที่การให้บริการ
เงื่อนไขบัตรโดยสาร
- บัตรโดยสารสามารถออกได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ภายในเวลาทำการ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ
- บัตรโดยสารสามารถเติมมูลค่าได้ ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและเครื่องเติมมูลค่าบัตรโดยสารอัตโนมัติ ภายในเวลาทำการ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ
- การออกบัตรโดยสารในครั้งแรก จะต้องมีมูลค่าตามที่การรถไฟฯ กำหนด รวมถึงค่ามัดจำบัตร ค่าธรรมเนียมการออกบัตร และค่าธรรมเนียมการจัดทำหน้าบัตร
- มูลค่าเดินทางของบัตรโดยสารแบบเติมเงิน จะลดลงโดยอัตโนมัติตามอัตราค่าโดยสารของระยะทางที่เดินทางจริง ซึ่งจะแสดงมูลค่าคงเหลือของบัตร (ไม่รวมค่ามัดจำบัตร) ที่หน้าจอของประตูเข้าออกผู้โดยสารอัตโนมัติ เมื่อผู้โดยสารเข้าหรือออกจากพื้นที่ชำระเงินแล้ว
- บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวมีอายุไม่เกิน 45 วัน หลังจากออกบัตร หากไม่ใช้ภายในกำหนด บัตรนี้จะไม่สามารถใช้งานได้
- บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวเริ่มนับวันหมดอายุการใช้งาน 30 วัน (นับจากวันที่เริ่มใช้งานที่ประตูอัตโนมัติขาเข้า)
- บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวไม่สามารถขอแลกเที่ยวคงเหลือที่ใช้งานไม่หมดคืนเป็นเงินได้
- บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวเมื่อมีการเติมเที่ยวเดินทางวันหมดอายุของบัตรจะเริ่มนับวันหมดอายุใหม่ทันที เช่น วันหมดอายุในบัตรคงเหลือ 20วัน เมื่อเติมเที่ยววันหมดอายุบัตรจะคงเหลือ 30วัน ทันทีไม่สะสมวันหมดอายุ
เงื่อนไขการคืนตั๋วโดยสาร
เงื่อนไขการคืนเหรียญโดยสาร
- การคืนเหรียญโดยสารที่ยังไม่ได้ใช้เดินทางและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยที่ยังไม่ได้แตะ หรือแตะที่ประตูอัตโนมัติขาเข้าแล้ว แต่ผู้โดยสารยังไม่เดินผ่านเข้าไปในพื้นที่ชำระเงิน สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ ตามมูลค่าที่แสดงภายในเหรียญโดยสาร
- กรณีที่เหรียญโดยสารชำรุดทางกายภาพขณะเดินทางอยู่ในระบบ การรถไฟฯ จะคิดค่าธรรมเนียมตามที่การรถไฟฯ กำหนด
เงื่อนไขการคืนบัตรโดยสาร
- บัตรโดยสารที่สามารถขอคืนบัตรได้ ได้แก่ บัตรโดยสารเติมเงิน (Stored Value) ประเภทบุคคลทั่วไป, ผู้สูงอายุ, นักเรียน/นักศึกษา และบัตรโดยสารอื่น ๆ ตามที่การรถไฟฯ กำหนด
- บัตรโดยสารที่ไม่สามารถขอคืนบัตรได้ ได้แก่ บัตรโดยสารประเภท 30 วัน (จำกัดเที่ยว) และบัตรโดยสารอื่น ๆ ตามที่การรถไฟฯ กำหนด
- บัตรโดยสารแบบเติมเงินที่ชำรุดทางกายภาพ เช่น บัตรหัก/งอ/เจาะ/บิด เป็นต้น ผู้โดยสารจะได้รับคืนมูลค่าการเดินทางคงเหลือ แต่จะไม่ได้รับเงินค่ามัดจำบัตรคืน
- กรณีบัตรโดยสารอ่านค่าได้ แต่มีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ผู้โดยสารสามารถดำเนินการขอคืนบัตรได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการคืนบัตร (ถ้ามี) และได้รับคืนค่ามัดจำบัตร (ถ้ามี)
- กรณีบัตรโดยสารที่ อ่านค่าไม่ได้ ไม่สามารถตรวจสอบมูลค่าการเดินทางคงเหลือในบัตรได้ และบัตรมีการชำรุดทางกายภาพ จนไม่สามารถอ่านหมายเลขบนหลังบัตร การรถไฟฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนมูลค่าการเดินทางคงเหลือ และค่ามัดจำบัตร (ถ้ามี) ให้กับผู้โดยสาร
- ผู้โดยสารสามารถขอคืนบัตรโดยสารได้ (ทั้งที่ใช้ในการเดินทางแล้วและยังไม่ได้ใช้) ยกเว้น บัตรโดยสารอื่น (ที่เงื่อนไขระบุว่าไม่สามารถคืนเงินได้)
เงื่อนไขบัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง X ขสมก. Transit Pass RED Line SRTET X BMTA
- บัตรโดยสารเหมาจ่าย 30 วัน หรือ 50 เที่ยว
- บัตรโดยสารเหมาจ่าย 30 วัน สามารถออกได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ภายในเวลาทำการ หรือเขตการเดินรถหรือตามที่ ขสมก. กำหนด
- การออกบัตรโดยสารในครั้งแรก จะต้องมีมูลค่าตามที่การรถไฟฯ กำหนด รวมถึงค่ามัดจำบัตร ค่าธรรมเนียมการออกบัตร และค่าธรรมเนียมการจัดทำหน้าบัตร
- กรณีซื้อบัตรแล้วเกิดปัญหาไม่สามารถใช้บัตรได้ สามารถเปลี่ยนบัตรใหม่ได้ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ซื้อบัตร พร้อมทั้งนำเอกสารใบเสร็จมาแสดง โดยไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่
- ใช้บัตรแตะชำระค่าโดยสารที่เครื่อง EDC ที่จุดรับชำระที่รถไฟฟ้าสายสีแดงกำหนด และบนรถขสมก.
- บัตรโดยสารเหมาจ่าย 30 วัน สามารถเติมมูลค่าได้ ผ่านแอพพลิเคชั่น Krungthai NEXT สแกน QR Code หลังบัตร หรือเลือกเมนูจ่ายบิล ผ่าน COM. CODE : 7675 , ตู้เอทีเอ็ม ( ATM ) ธนาคารกรุงไทย , Mobile Banking ของทุกธนาคาร สแกน QR Code หลังบัตร และชำระเงินสดผ่านเครื่อง EDC ณ จุดจำหน่ายบัตรทั้ง รถไฟฟ้าสายสีแดง และ ขสมก.
- หลังการเติมเงิน บัตรมีอายุ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แตะชำระครั้งแรกที่รถไฟฟ้าสายสีแดง หรือ ขสมก.อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ลูกค้าชำระค่าโดยสารครั้งแรกที่รถไฟฟ้าสายสีแดง วันที่ 1 ม.ค. 66 บัตรจะใช้งานทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และ ขสมก. ได้ถึงวันที่ 30 ม.ค. 66 เท่านั้น จนกว่าจะเติมเงินครั้งถัดไป
- กรณีใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง จะนับจำนวนเที่ยวสูงสุด 50 เที่ยว ต่อการเติมเงินหนึ่งครั้ง หากใช้จำนวนเที่ยว 50 เที่ยว หมดก่อน 30 วัน จะไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังใช้ชำระค่าโดยสาร ขสมก.ได้จนครบ 30 วัน เช่น ลูกค้าใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดง ครั้งแรกวันที่ 1 ม.ค. 66 ครบ 50 เที่ยว ในวันที่ 25 ม.ค. 66 ลูกค้าวัน จะไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังใช้ชำระค่าโดยสาร ขสมก.ได้จนถึงวันที่ 30 ม.ค. 66 ได้ตามปกติ จนกว่าจะเติมเงินรอบต่อไป
- บัตรเหมาจ่าย 30 วัน ใช้ชำระค่าโดยสารให้ ขสมก. และ รฟท.(สายสีแดง) เท่านั้น ไม่สามารถถอนเงิน และโอนเงินได้
- ตรวจสอบวันหมดอายุ และการใช้งานล่าสุดที่จุดบริการขสมก. และ รฟท. ผ่านเครื่อง EDC หรือช่องทางธนาคารอื่น ๆ ในอนาคต
- กรณีเติมเงินแล้ว ไม่สามารถขอคืนเป็นเงินสดได้
- บัตรเหมาจ่าย 30 วัน สามารถเติมล่วงหน้าได้ 1 เดือน ก่อนสิทธิ์ในการเดินทางจะหมด เท่านั้น
กรณีบัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง X ขสมก. ชำรุดหรือสูญหาย
กรณีบัตรชำรุด
- นำบัตรที่ชำรุดมาตรวจสอบที่เครื่อง EDC ณ จุดจำหน่ายบัตร ก่อนการออกบัตรใหม่ ( มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตรใหม่ )
- หลังการตรวจสอบ กรณีบัตรชำรุดแต่ยังไม่เคยใช้งานบัตรมาก่อน สามารถเปลี่ยนบัตรใหม่โดยไม่มีค่าใช่จ่าย
กรณีบัตรสูญหาย
- กรณีลงทะเบียนบัตร นำบัตรประชาชนมาตรวจสอบที่เครื่อง EDC ณ จุดจำหน่ายบัตร โดยระบบจะโอนจำนวนวันใช้งานและจำนวนเที่ยวเข้าบัตรใหม่ ( มีค่าใช้จ่ายในการออกบัตร )
- กรณีไม่ได้ลงทะเบียนบัตร เทียบเท่าการใช้เงินสด บัตรหาย เงินหาย เนื่องจากไม่สามารถยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรที่สูญหายได้